top of page

การตอกเสาเข็มบ้าน-ธณัฐชา ปั้นจั่น


หากเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้นมา ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์มักจะรู้สึกปวดหัวจี๊ดทุกครั้งเวลา คงเป็นเพราะกลัวขายบ้าน-คอนโดมิเนียมไม่ออก

แม้ประเทศไทยมีโอกาสน้อยมาก ที่จะเกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหวสร้างความเสียหายในระดับรุนแรง ทว่าในด้านจิตวิทยาผู้บริโภค หากเกิดทีไรมักจะตื่นตระหนกขวัญกระเจิงซะทุกครั้ง แล้วเราจะตรวจสอบได้ยังไงว่าบ้านสู้แผ่นดินไหวได้หรือเปล่า ผู้รับตอกเสาเข็ม ตอกเสาเข็มตอกลึกแค่ไหน ซึ่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคารจะดูแลมาตรฐานการก่อสร้างอาคารให้อยู่แล้ว ในกรณีตึกสูงไม่ว่าจะเป็นคอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนต์ สำนักงาน โรงแรม มีข้อกำหนดเกี่ยวกับความสามารถต้านทานแผ่นดินไหว ต้านแรงปะทะลม เพราะยิ่งสูงลมยิ่งพัดแรง ฐานรากกับโครงสร้างต้องแข็งแรงกว่าเป็นธรรมดา จากข้อมูล ตึกสูงในกรุงเทพฯ จะสามารถต้านแผ่นไหวในระดับ 7 ริกเตอร์ ได้อย่างสบายๆ (ยุคนี้ต้องเรียกว่า 7 แมกนิจูด)

แต่การก่อสร้างอาคารแนวราบ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ อาคารพาณิชย์ขนาด 1-3 ชั้น กฎกระทรวงไม่ได้มีข้อกำหนดโดยตรง (ยกเว้นจังหวัดชายแดนที่อยู่ใกล้แนวรอยเลื่อนในเขตภาคเหนือ ตะวันตก ภาคใต้ ที่มีกฎกระทรวงพิเศษดูแลเรื่องมาตรฐานการก่อสร้างอาคารขนาดเล็ก หรือบ้านอยู่อาศัย 2-4 ชั้น) สำหรับประชาชนทั่วไป ให้จำเพียงว่า แผ่นดินไหว 7 แมกนิจูดขึ้นไป ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในประเทศไทย ถึงจะมีโอกาสทำความเสียหายรุนแรงได้ สำหรับการตอกเสาเข็ม ความลึกเสาเข็มนั้น ให้ดูตัวอย่างจากหมู่บ้านจัดสรรเพราะมีการลงทุนตอกเสาเข็มค่อนข้างมาตรฐาน ปกติผู้รับตอกเสาเข็มจะต้องตอกเสาเข็มจนถึงชั้นดินแข็ง ดังนั้น ความลึกจะมากหรือน้อยจึงขึ้นกับชั้นดินแข็งเป็นตัวกำหนด ยกตัวอย่างกรุงเทพฯ กับ สี่มุมเมืองความลึกของเสาเข็มจะต่างกันกัน บางบริษัทบอกว่าเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อย่างต่ำเสาเข็มต้อง 18 เมตรขึ้นไป แต่โซนบางนาต้องมี 20-24 เมตร เพราะลักษณะเป็นดินตะกอนเป็นชั้นดินที่เกิดใหม่ แปลว่าชั้นดินแข็งจะอยู่ลึกกว่าโซนอื่น

คำแนะนำคือ กรณีที่เป็นบ้านสร้างเอง ควรจะเลือกจ้างบริษัททำธุรกิจรับสร้างบ้านไปเลยหรือหากต้องการทำเอง ก็ต้องใช้บริการให้วิศวกรเป็นคนออกแบบและคำนวณความปลอดภัยของโครงสร้างอาคารให้ และต้องทำตามอย่างเคร่งครัด เพราะเรื่องเสาเข็มไม่ใช่สักแต่ว่าตอกให้จบๆ กันไป พื้นที่หน้าไซต์งานยังมีขั้นตอนทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม โดยมีเครื่องทดสอบแบบเฉพาะเจาะจง แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายสูงไปตามค่าตัว และค่าเครื่องมือของคนผู้รับตอกเสาเข็ม

ตรวจสอบเสาเข็มจนอุ่นใจแล้ว อย่าลืมทำคู่กับตรวจสอบความแข็งแรงโครงสร้างหลักอื่นๆ ด้วยล่ะ ถ้าไม่รู้จะทำยังไงให้เลียนแบบจากการสร้างบ้านของหมู่บ้านจัดสรรยี่ห้อดังๆ ก็ได้ เพราะความก้าวหน้าระบบก่อสร้างยุคปัจจุบัน มีการนำมาชูเป็นจุดขายว่าเป็นบ้านต้านแผ่นดินไหวได้ถึง 8 แมกนิจูดกันเลยทีเดียว!

คอลัมน์ ฟรีสไตล์เรื่องบ้านๆ โดย เมตตาทับทิม misstubtim@yahoo.com

Featured Posts
Recent Posts
Search By Tags
No tags yet.
Follow Us
  • Facebook Classic
  • Twitter Classic
  • Google Classic
bottom of page